NVD 1.79 บาท +0.02 (1.13%)
EN

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและแนวทางการจัดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

บริษัทฯ มีการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างชัดเจน และได้มีการนำมาปฏิบัติงานในองค์กรอย่างจริงจัง โดยได้มีการกำหนดเป็นแผนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) ในหลากหลายหัวข้อ อาทิ

Living Innovation

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้า และการบริการ เพื่อสร้างความพึงพอให้กับลูกค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของเนอวานา ต่อไป

Excellence Service & Product Quality

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้า และการบริการ เพื่อสร้างความพึงพอให้กับลูกค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของเนอวานา ต่อไป

Partnership for Growth

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ทั้งในแง่พันธมิตรด้านเงินลงทุน และคู่ค้า ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงานตามกลยุทธ์ในปี 2565

บริษัทฯ มีคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกรรมการที่มีอำนาจสูงสุดในการสนับสนุนและผลักดันการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงในแต่ละสายงานเป็นสมาชิกคณะทำงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน และรับผิดชอบในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ดังกล่าว โดยมีการประเมินผลการดำเนินงานจากผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยในปี 2565 บริษัทฯ มีเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลการดำเนินงานปี 2565
ปี 2568 ปี 2566
Living Innovation พัฒนานวตกรรมที่สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 (เปรียบเทียบกับปีฐาน 2565) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 (เปรียบเทียบกับปีฐาน 2565) ในปี 2565 เป็นปีแรกของการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบ
Excellence Service ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ร้อยละ 78.3
Employee Satisfaction อัตราความพึงพอใจของพนักงานเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ร้อยละ 88.0
Partnership for Growth จำนวนพันธมิตรที่ร่วมมือในการสนับสนุนการลดการใช้พลังงาน และการเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างน้อย 2 1
แนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งเน้นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่มีคุณค่าผ่านกระบวนการออกแบบ อย่างเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และทางเลือกของการอยู่อาศัยแบบครบวงจร เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นกระบวนการทำงานที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และงานบริการที่ดีให้กับลูกค้า โดยกระบวนการทำงานตั้งแต่การเริ่มต้น จนถึงขั้นตอนสุดท้าย พร้อมกับการบริการลูกค้าหลังการขาย โดยกระบวนการทำงานหลักขององค์กรมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้

คำอธิบายในแต่ละกระบวนการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงขั้นตอนสุดท้าย

กระบวนการทำงาน รายละเอียดการปฏิบัติงาน
Land Acquisition
(การจัดหาที่ดิน)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการคัดเลือกที่ดินที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาโครงการ โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง การเข้าถึงที่ดิน การมีระบบสาธารณูปโภคของรัฐบาลรองรับ ผังเมือง ข้อจำกัดทางด้านกฎหมายทิศทาง การเติบโตของแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งชุมชน ในการคัดเลือกที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการ บริษัทมีฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เป็นหน่วยงานหลักในการสรรหาที่ดิน โดยทำงานร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกประเภทที่อยู่อาศัย และแบรนด์ที่เหมาะสมกับทำเลนั้นนั้น โดยพิจารณาความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย ผังเมือง ความเป็นไปได้ทางด้านการก่อสร้าง การประมาณการต้นทุน ระยะเวลาในการพัฒนาโครงการ ความเป็นไปได้ทางการเงิน อัตราผลตอบแทน และความเป็นไปได้ทางด้านตลาด เพื่อกำหนดแบรนด์สินค้า และราคาขายให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในบริเวณนั้นๆ โดยการสรรหาที่ดินมีข้อมูลจากเครือข่ายนายหน้าที่เป็นพันธมิตร กับบริษัทมายาวนาน และจากการสำรวจของฝ่ายพัฒนาธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับข้อมูลที่ดิน ผ่านเว็บไซต์ และผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และลดผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียง ฝ่ายพัฒนาธุรกิจร่วมกับฝ่ายก่อสร้างจะเข้าไปดูพื้นที่จริงก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อการอยู่อาศัยของชุมชนข้างเคียงและลูกค้าของโครงการ ซึ่งในระหว่างงานก่อสร้าง หากมีการดำเนินการแล้วเกิดการชำรุดของถนน ทางบริษัทจะดำเนินการซ่อมแซม
Project Feasibility
(การศึกษาความ เป็นไปได้โครงการ)
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะส่งรายละเอียดที่ดิน และประมาณการตัวเลขเบื้องต้นให้กับฝ่ายการเงินเพื่อให้ฝ่าย การเงินทำประมาณการความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการเบื้องต้น โดยประชุมร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายการตลาด และฝ่ายก่อสร้าง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการ รูปแบบการพัฒนา โครงการ และรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนำไปเสนอขออนุมัติซื้อที่ดินและพัฒนาโครงการกับทางคณะกรรม การบริหารบริษัทต่อไป
Concept Design
(การออกแบบการพัฒนาโครงการ)
เมื่อทางคณะกรรมการบริหารมีมติเห็นชอบให้ซื้อที่ดินและรูปแบบการพัฒนาโครงการเบื้องต้น ทางฝ่ายออกแบบ จะต้องดำเนินการออกแบบรูปแบบการพัฒนาโครงการ จัดทำผังโครงการ ระบบสาธารณูปโภคโครงการ การวางรูปแบบบ้านให้โครงการมีความน่าอยู่ และใช้ประโยชน์จากที่ดินได้สูงสุด รวมถึงการวางแบบบ้านโดยคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และลม โดยจะต้องถูกต้องตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน และหลักการของภูมิสถาปัตย์ โดยร่วมมือกับฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด เพื่อที่เป็นโครงการที่มีคุณภาพ สามารถอยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการออกแบบได้อีกด้วย
Estimated & Budgeting
(การประมาณการต้นทุน)
ฝ่ายประมาณการต้นทุน และฝ่ายก่อสร้าง จะต้องนำรูปแบบการก่อสร้างของโครงการจากฝ่ายแบบมาประมาณการต้นทุน และวางแผนการก่อสร้าง โดยเป็นการประมาณการต้นทุนทั้งงานก่อสร้างสาธารณูปโภคโครงการ และงานก่อสร้างบ้าน จากราคากลางของบริษัท เพื่อนำส่งประมาณราคาให้กับฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อหาผู้รับเหมาในขั้นตอนถัดไป
Sourcing & Procurement
(การจัดซื้อจัดจ้าง)
บริษัทมีขั้นตอนในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างที่โปร่งใส และยุติธรรม เพื่อให้ได้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐานที่บริษัทตั้งไว้ ในราคาที่เหมาะสม บริษัทบริหารความเสี่ยงโดยให้ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการเป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้างที่มีความผันผวนและความสูญเสียที่ไม่แน่นอน โดยกำหนดราคาในสัญญาว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey contract) อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพ รูปแบบ และเวลาได้ดีกว่าอีกด้วย ส่วนบริษัทจะจัดซื้อวัสดุก่อสร้างบางประเภทที่มีสำคัญ ราคาสูง และมีลักษณะเฉพาะ เช่น สุขภัณฑ์ วัสดุกรุผิว ประตู-หน้าต่าง เพื่อเป็นการลดภาระของผู้รับเหมาอีกทางหนึ่ง โดยขั้นตอนการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง บริษัทจัดให้มีการเปิดซองประมูลราคาหลายรายการ เพื่อให้มีการแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพได้ การจัดซื้อวัสดุก่อสร้างจากผู้ผลิตโดยตรงทำให้บริษัทได้ราคาที่ต่ำกว่าผู้รับเหมาจัดซื้อเอง เนื่องจากมีการสั่งซื้อในปริมาณมาก วัสดุที่บริษัทสั่งซื้อส่วนใหญ่ใช้ในขั้นตอนแยกจากขั้นตอนการทำงาน ของผู้รับเหมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงสามารถควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน ก่อสร้างที่วางไว้ นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนรองรับการผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง โดยการกำหนด ราคาส่งมอบล่วงหน้า การจัดซื้อในระยะยาว และมีระยะเวลาการจ่ายค่าวัสดุก่อสร้างอยู่ในช่วงเวลา 30-60 วัน ทั้งนี้บริษัทไม่ได้พึ่งพาผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ ทำให้ไม่มีปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่ผ่านมา โดยบริษัทมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถหาวัสดุได้ตรงตามมาตรฐาน ตามปริมาณ และสามารถส่งมอบได้ทันตามที่บริษัทกำหนดได้

การดำเนินการก่อสร้าง บริษัทจะว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัทจะควบคุมแผนงาน และคุณภาพงานก่อสร้างโดยการจัดให้มีผู้จัดการโครงการ วิศวกรควบคุมงานประจำโครงการ วิศวกรควบคุมคุณภาพ เพื่อคอยดูแล และตรวจสอบงานของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทที่กำหนดไว้ โดยการคัดเลือกผู้รับเหมาใหม่ บริษัทจะพิจารณาจากคุณสมบัติเบื้องต้น ประสบการณ์ ผลงาน และคุณภาพที่ผ่านมา รวมถึงฐานะการเงินของบริษัท เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้บริษัทว่าจะสามารถดำเนินงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา และคุณภาพที่มีมาตรฐาน สำหรับผู้รับเหมา รายเดิมที่เคยรับงานกับบริษัทมาแล้ว บริษัทจะมีการจัดเก็บข้อมูลของผู้รับเหมาไว้เป็นฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลการทำงาน คุณภาพงาน การประเมินผลงาน เป็นต้น เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าจ้างในครั้งถัดไป สำหรับการพัฒนาโครงการแนวราบ ประเภทบ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ และโฮมออฟฟิศ บริษัทจะจัดหาผู้รับเหมารายย่อยหลายรายในการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และสามารถปรับแผนงาน การก่อสร้างต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที แต่การพัฒนาโครงการประเภทแนวสูง คอนโดมิเนียม บริษัทจะว่าจ้างผู้รับเหมารายใหญ่เพียงรายเดียว และทำสัญญาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุน ระยะเวลา และคุณภาพให้เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ปัจจุบันบริษัทมีการรับสมัครสัมภาษณ์ผู้รับเหมารายใหม่ๆ ที่มีศักยภาพที่ดีจำนวนมาก เก็บไว้เป็นคู่ค้าขึ้นทะเบียน โดยการคัดเลือกผู้รับเหมา บริษัทมีคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อวางนโยบายการจัดหา และพิจารณาคุณสมบัติของผู้รับเหมาในแต่ละรายตามความเหมาะสมของงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทในอนาคตต่อไป
Gov. Permit
(การติดต่อประสานงานราชาการ)
บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ บริษัทจึงจัดตั้งหน่วยงานประสานงานราชการ เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการเรื่องการขออนุญาตต่างๆ กับหน่วยงานราชการโดยตรง เช่น การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน การขออนุญาตก่อสร้าง การขออนุญาตเชื่อมท่อ เชื่อมทาง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือการทำ EIA การขอติดตั้งน้ำ ติดตั้งไฟ เป็นต้น บริษัทจะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
Sale Office & Show house
(สำนักงานขายและบ้านตัวอย่าง)
เมื่อบริษัทได้รับอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างได้ บริษัทจะเริ่มพัฒนาโครงการโดยการสร้างสำนักงานขายบริเวณด้านหน้าโครงการ ระบบสาธารณูปโภคโครงการบางส่วน เช่น ถนนทางเข้า ซุ้มโครงการ ป้อมสำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัย บ้านตัวอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือในการขายของโครงการ
Sale & Marketing
(การขายและการตลาด)
ฝ่ายการตลาดจะต้องวางแผนการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้ทราบถึงรายละเอียดโครงการ รวมถึงการจัดทำโปรโมชั่น เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามประมาณการขายตามที่ได้ขออนุมัติไว้ โดยสื่อการโฆษณาต่างๆ จะต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีทีมงานการตลาดองค์กร เป็นผู้ตรวจสอบและคัดกรองข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการติดป้ายประกาศต่างๆ จะต้องไม่รบกวนต่อสภาพแวดล้อม จนเกิดอันตรายต่อผู้ที่สัญจรไปมา ส่วนงานของฝ่ายขาย จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริงกับลูกค้าในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับลูกค้าในการตัดสินใจ รวมถึงการให้บริการสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยบริษัทจะร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของแต่ละสถาบันการเงิน นอกจากนี้ บริษัทมีการจัดทำแบบสอบถามให้กับลูกค้าผ่านระบบออนไลน์ (Visual Questionnaire) เพื่อนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการทำการตลาดต่อไป
Construction & QC
(การก่อสร้าง และควบคุมคุณภาพ)
ฝ่ายก่อสร้างโครงการ เริ่มดำเนินงานก่อสร้างโครงการ เริ่มต้นตั้งแต่การปรับปรุงที่ดิน การถมดินเพื่อปรับระดับ และดำเนินงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงานการก่อสร้างที่สอดคล้องกับงานขาย ทั้งนี้งานก่อสร้างมักจะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบข้าง เช่น การถมดิน รถที่ใช้ถมดิน จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การใช้ผ้าใบคลุมดิน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่จะเกิดขึ้น การล้างล้อรถก่อนออกจากพื้นที่งานก่อสร้าง เพื่อป้องการเศษดินที่ติดล้อรถ จะทำให้ถนนไม่สะอาด เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชน ในมลภาวะ ทั้งในเรื่องของเสียง น้ำ และอากาศ บริษัทมีหน่วยงาน CSR เพื่อคอยดูแลปัญหาจากงานก่อสร้างที่จะกระทบต่อชุมชนบริเวณรอบข้างอย่างใกล้ชิด โดยจะมีผู้รับผิดชอบโครงการดูแลรับผิดชอบรับเรื่องร้องเรียน (ถ้ามี) เพื่อเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที เนื่องจากบริษัทใช้ระบบการก่อสร้างด้วยการผลิตแผ่น precast ซึ่งเป็นระบบที่มีความทันสมัยในการก่อสร้างบ้าน ซึ่งเป็นการผลิตจากโรงงาน มีการตรวจสอบชิ้นงานทุกชิ้นก่อนส่งออก จึงสามารถช่วยลดฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ทำให้ลดมลภาวะทางอากาศและการขนส่ง (ก๊าซเรือนกระจก) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้บริษัทยังมีฝ่ายควบคุมคุณภาพ ซึ่งขึ้นตรงกับสายงานพัฒนาโครงการพิเศษ ซึ่งอยู่คนละสายงานกับงานก่อสร้างโครงการ ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
Deliver & Transfer
(การส่งมอบสินค้า)
เมื่องานก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ บริษัทจะดำเนินการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้า โดยบ้านแต่ละหลังก่อนส่งมอบให้กับลูกค้าจะต้องได้รับการอนุมัติให้ส่งมอบบ้านจากฝ่ายควบคุมคุณภาพก่อนโอนกรรมสิทธิ์ ทำให้รายการแก้ไขต่างๆจากลูกค้ามีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากการปรับปรุงพัฒนาสินค้า ตั้งแต่การออกแบบและขั้นตอนการก่อสร้างที่บริษัทได้ปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง
Juristic Person
(การจัดตั้งนิติบุคคล)
เมื่อสามารถส่งมอบบ้านในโครงการให้กับลูกค้าได้ตามกำหนด ทางบริษัทจะต้องดำเนินการจัดตั้งนิติ บุคคลหมู่บ้าน พร้อมส่งมอบสาธารณูปโภคโครงการให้เป็นกรรมสิทธิ์ของหมู่บ้านต่อไป โดยบริษัทมีหน่วยงานบริหารงานชุมชน เป็นหน่วยงานเฉพาะในการดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่มี หน้าที่เฉพาะ ได้แก่ งานรักษาความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าโครงการ ระบบระบายน้ำ ถนนโครงการ สวนสาธารณะ บริษัทเน้นเรื่องความปลอดภัยในโครงการเป็นหลัก โดยเลือกใช้บริษัทรักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพ ประวัติงานที่ดี มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างความปลอดภัยแก่ลูกค้าในโครงการ
After Sale Service & CRM
(การบริการหลังการขายและลูกค้าสัมพันธ์)
บริษัทให้ความสำคัญของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าที่โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว บริษัทมีหน่วยงานดูแลลูกค้าหลังการขายโดยเฉพาะ เพื่อรับเรื่องเกี่ยวกับการรับประกันตัวบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย ในกรณีฉุกเฉินบริษัทจะเข้าไปตรวจสอบภายใน 4 ชั่วโมง และติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อเข้าทำการตรวจสอบ และนัดหมายเพื่อดำเนินการซ่อมแซมต่อไป โดยหน่วยงานบริการลูกค้าหลังการขาย จะติดต่อลูกค้า และรายงานความคืบหน้างานให้ลูกค้าทราบตลอดจนแล้วเสร็จ รวมถึงการรายงานให้กับผู้บริหารทราบตลอดเวลา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงงานก่อสร้างต่อไป

บริษัทฯ มีกระบวนการระบุประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยพิจารณาข้อมูลจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Inclusiveness) แผนธุรกิจ กลยุทธ์ ปัจจัยความเสี่ยงขององค์กร ทิศทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) โดยใช้กระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญ (Materiality) ตามมาตรฐานขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative หรือ GRI) ฉบับล่าสุด GRI Standards

1. การระบุประเด็นสำคัญ (Identification)

ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและองค์กร บริษัทฯ ดำเนินการตามหลักสำคัญตามแนวทางของ GRI Standard คือ บริบทความยั่งยืน (Sustainability Context) ประเด็นที่มีนัยสำคัญ (Materiality) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness) และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Inclusiveness) รวมถึงประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องและมีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ ทั้งจากปัจจัยภายใน (เป้าหมายและแผนธุรกิจ) และปัจจัยภายนอก (การประเมินและตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย) และนัยสำคัญของผลกระทบ ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) มาประกอบการประเมินประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทฯ ด้วยการสำรวจความคิดเห็น การหารือ การพูดคุย ประชุม สัมมนา กับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ และจัดลำดับความสำคัญกำหนดการตอบสนองอย่างเหมาะสม

2. การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)

บริษัทฯ นำประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับผลกระทบและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่ม รวมถึงแนวโน้มด้านความยั่งยืนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เพื่อจัดลำดับความสำคัญและวิเคราะห์ กำหนดเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญ (Materiality) ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากนั้นให้ค่าคะแนน โดยพิจารณาตามความสำคัญเพื่อกำหนดประเด็นลงตาราง Materiality Matrix ในแกนตั้ง คือ ระดับอิทธิพลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย และแกนนอน คือ ระดับนัยสำคัญของผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

3. การให้เหตุผล (Validation)

ประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ เนอวานา ไดอิ ได้รับการระบุประเด็นและให้ความเห็นชอบโดยผู้บริหารระดับสูง จำนวน 18 ประเด็น ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ 3 ประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อม 6 ประเด็น และด้านสังคม 9 ประเด็น

ประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย หัวข้อที่นำเสนอในรายงาน
มิติเศรษฐกิจ
1. Supply Chain Management ผู้บริหาร/พนักงาน/คู่ค้า/คู่สัญญา การจัดซื้อจัดจ้าง
2. Innovation ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/คู่ค้า/คู่สัญญา การพัฒนานวตกรรม
3. Construction Materials ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/คู่ค้า/คู่สัญญา Reused, Recycle และวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มิติสิ่งแวดล้อม
4. Water & Effluence Management ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
5. Waste & Plastic Supplies ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การจัดการวัสดุและของเสีย
6. Energy Efficient ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
7. Social & Environmental Compliance ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน
8. Emission ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การลดมลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
9. GHG Management & Climate Change ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/ชุมชนและสังคม การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มิติสังคม
10. Employment & Employee Welfare ผู้บริหาร/พนักงาน การจ้างงานและการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
11. Training & Education ผู้บริหาร/พนักงาน การฝึกอบรมและการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
12. Human right ผู้บริหาร/พนักงาน/คู่ค้า/คู่สัญญา การเคารพสิทธิมนุษยชน
13. Ethics & Integrity ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/คู่ค้า/คู่สัญญา/ชุมชนและสังคม การปฏิบัติตามกฎหมาย
14. Impact on Local Community ผู้บริหาร/พนักงาน/ชุมชนและสังคม การแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน
15. Customer Satisfaction & Engagement ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
16. Data Privacy of Stakeholders ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/คู่ค้า/คู่สัญญา/ผู้ถือหุ้น นโยบายการเก็บรักษาข้อมูลลูกค้า
17. Health & Safety ผู้บริหาร/พนักงาน/คู่ค้า/คู่สัญญา สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
18. Non-discrimination and Product & Service Inclusion ผู้บริหาร/พนักงาน/ลูกค้า/คู่ค้า/คู่สัญญา การใช้ประโยชน์สูงสุดของพื้นที่กับ Universal Design