NVD 1.81 บาท +0.04 (2.26%)
EN

สุขภาพและความปลอดภัย

บริษัท เนอวานา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่พนักงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยในการทำงาน และควบคุมความไม่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยได้กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมาที่เข้ามาดำเนินงานภายในบริษัทฯ ดังนี้

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • บริษัทฯ ถือว่า ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทุกระดับ ที่จะร่วมมือกันปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • บริษัทฯ จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างสูงสุด
  • บริษัทฯ จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  • พนักงานและลูกจ้างตลอดจนบุคคลภายนอกที่มาปฏิบัติงานหรือมาใช้บริการต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเคร่งครัด
  • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องให้การส่งเสริม สนับสนุน ดูแลรับผิดชอบ และให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
ระเบียบปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมการปฏิบัติงานตามมาตรฐานครบถ้วน มีการนำไปปฏิบัติตรงกันทุกภาคส่วน จึงมีการกำหนดระเบียบปฏิบัติงานภายในบริษัทฯ ดังนี้

1. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา

ระเบียบข้อบังคับมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ เป็นเอกสารประสัญญา (TOR) โดยระบุระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับผู้รับเหมาที่รับจ้างก่อสร้างให้กับบริษัทฯ ต้องปฏิบัติ โดยหลักๆ มีดังนี้

  • กำหนดให้มีการจัดทำรั้วสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ที่มั่นคงแข็งแรงไว้ตลอดแนวเขตก่อสร้าง
  • กำหนดให้จัดทำและติดตั้งป้ายเตือนและป้ายบังคับในเขตก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย เช่น ให้ระวัง, ห้ามเข้าพื้นที่, บังคับสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็นต้น
  • กำหนดให้ระบุชื่อผู้ควบคุมงานของผู้รับจ้าง ติดไว้บริเวณทางเข้า-ออกโครงการก่อสร้าง
  • บริเวณพื้นที่อันตรายภายในเขตก่อสร้าง จะต้องกั้นพื้นที่การทำงานด้วยธงขาว-แดง หรือ วัสดุอื่นๆ ให้มองเห็นได้ชัดเจน ตามความเหมาะสมของพื้นที่
  • จัดให้มีกิจกรรมด้านความปลอดภัยในโครงการก่อสร้าง เช่น กิจกรรมสนทนาความปลอดภัย (Safety Talk) เพื่อเน้นย้ำข้อควรปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งเช็คสภาพความพร้อมในด้านร่างกาย เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ความเสี่ยงในงานที่จะทำ และเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญในระหว่างการทำงาน
  • มาตรฐาน ตู้ไฟฟ้าชั่วคราว ภายในโครงการก่อสร้าง
  • จัดให้มีจุดสูบบุหรี่อย่างชัดเจน และเพียงพอ ห้ามมิให้สูบบุหรี่นอกเขตพื้นที่ที่จัดเตรียมให้และบริเวณพื้นที่ทำงาน
  • กำหนดให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการก่อสร้างของบริษัทฯ ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามลักษณะการทำงานที่กำหนดให้เป็นอย่างน้อย ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    • จัดทำที่พัก/จุดรับประทานอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการก่อสร้าง
    • จัดให้มีห้องสุขาที่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการก่อสร้าง

2. การสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ

ในการวางแผนการป้องกัน แก้ไข หรือส่งเสริมงานด้านความปลอดภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน บริษัทฯ ได้มีระเบียบการดำเนินการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ ครอบคลุมในส่วนของพนักงานบริษัทฯ ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงาน ที่ปรึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการนำมาทวบทวน สื่อสาร และป้องกันแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

  • บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมต่างๆ ในองค์กร เพื่อควบคุม ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายที่ส่งผลต่อทางร่างกาย และสภาพจิตใจของพนักงาน
  • บริษัทฯ ได้มีการประเมินความสอดคล้องกับข้อกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • บริษัทฯ มีการตรวจสอบการทำงานอยู่สม่ำเสมอ ตัวอย่าง เช่น กิจกรรม Site Walk โดยมีผู้บริหารโครงการเป็นผู้นำตรวจ
  • บริษัทฯ มีการนำหัวข้อความปลอดภัยในการทำงาน ใส่ในการประชุมโครงการก่อสร้างประจำสัปดาห์ เพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นภายในโครงการก่อสร้าง
  • บริษัทฯ มีการสุ่มตรวจที่พักคนงานของผู้รับจ้าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามมาตรฐานและถูกต้องตามกฏหมาย
  • บริษัทฯ ได้จัดทำกฏระเบียบ,มาตรฐานการทำงาน และ ความรู้ต่างๆ ด้านความปลอดภัย แปลเป็นภาษาต่างๆ 4 ภาษาให้กับแรงงานได้ศึกษาและทำความเข้าใจ
  • บริษัทฯ จัดทำชุมชนสัมพันธ์กับพื้นที่ข้างเคียงกับโครงการก่อสร้าง เพื่อให้ชุมชนเกิดทัศนะคติที่ดีต่อโครงการ และได้รับความสนับสนุนที่ดีในอนาคต
  • บริษัทฯ มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  • บริษัทฯ มีการสื่อสารด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในหลายช่องทาง อาทิ E-Mail บอร์ดประชาสัมพันธ์ โปรแกรม Yammer ให้กับพนักงานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • บริษัทฯ มีการฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงาน เพื่อให้ทราบหลักการที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานในลักษณะงานต่างๆ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกวิธี ตั้งแต่เริ่มงาน และมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง
  • บริษัทฯ มีการซ้อมรับเหตุฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเป็นการซักซ้อมพนักงานให้เข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการแจ้ง วิธีการประสานงาน รวมถึงบทบาทหน้าที่
  • บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ หากฝ่าฝืนมีบทลงโทษตามมาตรการที่ได้แจ้งไว้
  • บริษัทฯ มีการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุนั้นๆ และเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ
  • บริษัทฯ มีการทบทวนการจัดการโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้มั่นใจในระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย ให้มีความเหมาะสม พอเพียง และมีประสิทธิภาพ
  • บริษัทฯ มีการให้ความรู้กับพนักงาน (Safety Talk) ที่ปฏิบัติในโครงการก่อสร้าง
  • บริษัทฯ มีการตรวจสารเสพติด พนักงาน ผู้รับเหมา จากหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่ออาชญากรรม
  • บริษัทฯ มีการตรวจสภาพแวดล้อมทั้งในสำนักงานและโครงการก่อสร้าง เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับพนักงาน

ภาพตัวอย่าง การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • กิจกรรม Safety Talk และการทำกิจกรรม Site Walk เพื่อตรวจสอบการทำงานของผู้รับเหมา
  • การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ และการดับเพลิงขั้นต้นภายในโครงการก่อสร้าง

หน่วยงานความปลอดภัยของบริษัทฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อระบุว่ากิจกรรมหลักที่พนักงานในบริษัทฯ และผู้รับเหมาปฏิบัติงานอยู่ มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่ได้เกิดขึ้นหรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

ตารางสรุปการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมหลักขององค์กร

ผลการบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ ได้พิจารณาและชี้บ่งอันตรายความเสี่ยงของกิจกรรมหลักขององค์กร คือ งานก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย โดยระบุความเสี่ยงดังตารางข้างต้น โดยคัดเลือกเฉพาะความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญมาทำการประเมินความเสี่ยง และสามารถนำไปปรับปรุงเพื่อลดโอกาสการเกิด หรือลดความรุนแรงของความเสี่ยงในกิจกรรมหลักขององค์กรได้ในทุกกิจกรรมที่เรานำมาประเมินความเสี่ยง ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงให้อยู่ในระดับที่ลดลงตามที่เราได้ตั้งเป้าหมาย และได้ดำเนินการในส่วนนี้อย่างต่อเนื่องทุกๆ กิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่มีภายในองค์กร

ตารางเทียบหาระดับความเสี่ยงของงาน

ระดับความเสี่ยง

15-25

คือ

โอกาสเกิดสูงและผลกระทบรุนแรง ต้องเร่งแก้ไขด้วยมาตรการเชิงรุกทันที

12-5

คือ

โอกาสการเกิดปานกลางและมีผลกระทบที่ส่งผลให้งานล้าช้า

อาจแก้ไขด้วยการบริหารด้านความปลอดภัย

4-1

คือ

โอกาสการเกิดน้อยและไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานและการทำงาน

ระดับความรุนแรง

สูงมาก

คือ

เสียชีวิต/พิการ/สูญเสียอวัยวะบางส่วน/สูญเสียทรัพย์สินที่มีมูลค่าตั้งแต่

1 แสนบาทขึ้นไป

สูง

คือ

หยุดงานเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บตั้งแต่ 15 วันทำงานขึ้นไป/สูญเสียทรัพย์สิน

ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10000-99999 บาท

ปานกลาง

คือ

หยุดงานเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป/สูญเสียทรัพย์สิน

ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1000-9999 บาท

ต่ำ

คือ

หยุดงานเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บไม่เกิน 3 วันทำงานขึ้นไป/สูญเสียทรัพย์สิน

ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1-999 บาท

ต่ำมาก

คือ

ไม่ส่งผลกระทบใดๆ / ไม่สูญเสียทรัพย์สิน

โอกาสเกิดอุบัติเหตุ

สูงมาก

คือ

เกิดทุกสัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งขึ้นไป

สูง

คือ

เกิดทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้งขึ้นไป

ปานกลาง

คือ

เกิดขึ้น 6 เดือน/ 1 ครั้ง

ต่ำ

คือ

เกิดขึ้นปีละ 1 ครั้ง

ต่ำมาก

คือ

เกิดขึ้นมากกว่า 1 ปีขึ้นไป/ 1 ครั้ง หรือไม่เกิดขึ้นเลย

บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านความปลอดภัยสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่โครงการหรือหัวหน้างานของผู้รับเหมาเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของบริษัทฯ เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ตรวจสอบรวบรวมข้อมูล โดยทำกิจกรรม Morning talk ซึ่งแต่ละโครงการมีการจัดกิจกรรมอย่างทำต่อเนื่อง และได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของบริษัทฯ โดยแบ่งการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อย และยึดหลักการ Social Distancing ซึ่งกิจกรรมทั้ง 2 อย่างจะมีการให้ความรู้เรื่องโรคโควิด-19 และวิธีการป้องกันตัว หรือการปฏิบัติตัวเมื่อพบผู้ติดเชื้อ

อนึ่ง กิจกรรม Morning talk เป็นการแจ้งข่าวสาร บทเรียนจากอุบัติเหตุ หรือ ความปลอดภัยทั่วๆไป ซึ่งจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันพูดระหว่างผู้ควบคุมงาน หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และตัวผู้ปฏิบัติงาน มาพูดให้ทุกคนฟังที่หน้าแถว โดยจบท้ายด้วยการให้แง่คิดที่ดีทางด้านความปลอดภัย เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน จากนั้นจะมีการการออกกำลังกาย ยืดเส้นสาย หรือตรวจเครื่องมือ อุปกรณ์การทำงาน ตรวจอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) และการแต่งกาย ตรวจความพร้อมของร่างกาย เป็นต้น

การให้ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานต่างๆ ของบริษัทฯ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และทราบถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับของตน สามารถนำนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงานไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นภายในงาน รวมถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานภายในงานหรือองค์กรให้ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานด้านความปลอดภัยภายขององค์กร บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฯ โดยให้ หัวหน้างานหรือผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้อบรม ได้แก่ วิธีการสวมเข็มขัดนิรภัย และป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง ความรู้เกี่ยวกับการใช้และการตรวจสอบอุปกรณ์การยก

บริษัทฯ มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (ระดับบังคับบัญชา) และมาจาการเลือกตั้งของสมาชิกในองค์กร (ระดับปฏิบัติการ) รวมจำนวน 7 คน เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  4. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  5. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  6. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  7. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  8. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติืหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  9. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการดูแลพนักงานให้มีสุขภาพที่ดี จึงจัดให้มีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำมาตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานทุกระดับทั้งฝ่ายปฏิบัติการและผู้บริหาร เพื่อให้มีอาชีวอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ยังเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อโรคจากการทำงาน ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการดูแลพนักงาน จึงมีการกำหนดมาตรการการดูแลที่เหมาะสม และครอบคลุมกับทุกสภาพการทำงานของพนักงาน เช่น พนักงานไซต์งานก่อสร้างที่อาจได้รับผลอันเกิดจากฝุ่นละออง ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ บริษัทฯ ได้จัดเตรียมหน้ากากป้องอันตรายจากฝุ่นละอองให้กับพนักงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง พนักงานโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรเสียงดัง บริษัทฯ ได้บังคับให้พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ear plug หรือ ear muff เพื่อลดความเสี่ยงจากการทำงานในพื้นที่อันตรายดังกล่าว

แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วย 3 แผน ดังนี้

1. แผนก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้

  • แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย
  • แผนการอบรม
  • แผนการตรวจตรา

2. แผนขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้

  • แผนการดับเพลิง
  • แผนอพยพหนีไฟ

3. แผนหลังเหตุเพลิงไหม้

  • แผนบรรเทาทุกข์
  • แผนปฏิรูปฟื้นฟู

การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟจะดำเนินการฝึกซ้อมปีละ 1 ครั้ง ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ให้พนักงานประจำสำนักงานใหญ่เข้าร่วม “การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ” โดยมีรายละเอียดโครงสร้างทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Team ; ERT) ดังนี้

หน้าที่ของทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Team ; ERT)

1. ผู้อำนวยการทีมฉุกเฉิน (ERT Leader : EL) / ผู้ช่วยผู้อำนวนการทีมฉุกเฉิน 1 และ 2 (Sub. EL 1, 2)

  • มีอำนาจสูงสุดในการอนุมัติดำเนินการในทุกขั้นตอนของการระงับเหตุฉุกเฉิน
  • ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์กับสื่อมวลชน และหน่วยงานภายนอกอื่นๆ
  • รายงานผลการดำเนินการให้กับผู้ถือหุ้น ทราบเป็นระยะ

2. หัวหน้าทีมฉุกเฉิน (ERT Commander : EC) / ผู้ช่วยหัวหน้าทีมฉุกเฉิน 1 และ 2 (Sub. EC 1, 2)

  • เป็นหัวหน้าทีมฉุกเฉินประจำบริษัทฯ มีอำนาจสั่งการให้ลูกทีมเข้าระงับเหตุฉุกเฉินตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกทีมเป็นสำคัญ
    • เร่งด่วน สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที
    • กรณีไม่เร่งด่วน ต้องได้รับการอนุมัติดำเนินการจากผู้อำนวยการทีมฉุกเฉิน
  • เป็นผู้นำในการประเมินสถานการณ์ ความรุนแรงของเหตุการณ์ร่วมกับลูกทีม
  • ประสานงานวางแผนระงับเหตุร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่มาให้ความช่วยเหลือ
  • ให้ข้อมูล รายละเอียดการระงับเหตุเบื้องต้น พื้นที่เกิดเหตุให้กับหน่วยงานภายนอกที่มาให้ความช่วยเหลือ
  • ติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินการระงับเหตุ การให้ความช่วยเหลือของทีมต่างๆ และปัญหาที่พบเพื่อดำเนินการแก้ไขและรายงานให้กับผู้อำนวยการทีมฉุกเฉิน

3. เลขานุการ (Secretary : SC)

  • ดูแลและให้คำแนะนำในเรื่องของความปลอดภัย สำหรับทีมฉุกเฉินที่จะเข้าไประงับเหตุในพื้นที่
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยกับหน่วยงานที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ เช่น บริเวณอันตรายของบริษัท เป็นต้น

4. ทีมดับเพลิงขั้นต้นในพื้นที่ (Front line ERT : FL)

  • ค้นหาแหล่งต้นเพลิง และดับเพลิงขั้นต้นด้วยถังดับเพลิงทันทีที่พบเห็นเหตุการณ์หรือได้รับแจ้งจากพนักงานในพื้นที่ (ด้วยวาจา/กดสัญญาณ)
  • กดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เพื่อแจ้ง ERT

5. ทีมผจญเพลิง (Fire Fighting Team : FF)

  • รายงานตัวต่อ Commander และรวมตัว ณ สถานที่เกิดเหตุทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ เพื่อรอรับคำสั่ง
  • ตัดสินใจร่วมกับ Sub-commander เพื่อเลือกเทคนิคและวิธีการดับเพลิงที่เหมาะสม
  • ผจญเพลิงด้วยถังดับเพลิงที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ / พื้นที่ใกล้เคียง
  • ผจญเพลิงด้วยสายฉีดน้ำดับเพลิง กรณีที่เพลิงมีความรุนแรง
  • ประสานงานกับทีมดับเพลิงภายนอกที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือระงับเหตุ
  • ตรวจสอบสถานการณ์ครั้งสุดท้ายเมื่อเพลิงสงบ เพื่อยกเลิกภาวะฉุกเฉิน

6. ทีมสื่อสารและสนับสนุน (Communication & Utility Team : CU)

  • รายงานตัวต่อ Commander และประจำ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉินเพื่อรอรับคำสั่ง
  • ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ
  • ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุ และระบบสนับสนุนอื่นๆให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด
  • กดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้รวมทั้งบริษัทฯ กรณีที่ต้องอพยพหนีไฟ พร้อมกับการประกาศอพยพหนีไฟ

7. ทีมปฐมพยาบาล (First aid Team : FA)

  • รายงานตัวต่อ Commander และเตรียมพร้อม ณ จุดปฐมพยาบาลหรือจุดรวมพล
  • ปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
  • พิจารณาและตัดสินใจในการส่งตัวผู้บาดเจ็บเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
  • ประสานงานกับทีมช่วยเหลือภายนอกที่มาให้ความช่วยเหลือ

8. ทีมช่วยชีวิต (Rescue Team : RT)

  • รายงานตัวต่อ Commander และเตรียมพร้อม ณ ศูนย์บัญชาการ และรอคำสั่ง
  • อำนวยความสะดวกในขณะอพยพหนีไฟ และตรวจสอบให้พนักงานในทุกพื้นที่อพยพออกให้หมด
  • เข้าค้นหาผู้สูญหายและให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ยังติดอยู่ในอาคาร (ตามที่ได้รับแจ้ง) และนำส่งหน่วยปฐมพยาบาล

9. ทีมอพยพหนีไฟ (Fire Evacuation Leader Team : FE)

  • รอบรู้เส้นทางอพยพ หรือทราบแผนที่หนีไฟภายในอาคาร
  • นำพนักงาน รวมถึงบุคคลภายนอกที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด อพยพหนีไฟออกไปตามเส้นทางที่เหมาะสม โดยการฟังจากประกาศอพยพ โดยถือธงนำหนีไฟเป็นสัญลักษณ์นำ และไปรวมตัวยัง จุดรวมพล ตามที่ได้ประกาศ
  • ประสานกับบุคลกรของแต่ละหน่วยงานเพื่อตรวจนับ และเช็คชื่อพนักงานที่อพยพออกมา

การสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ

ในการวางแผนการป้องกัน แก้ไข หรือส่งเสริมงานด้านความปลอดภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน บริษัทฯ ได้มีระเบียบการดำเนินการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ ครอบคลุมในส่วนของพนักงานบริษัทฯ ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงาน ที่ปรึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการนำมาทวบทวน สื่อสาร และป้องกันแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ

  1. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงติดตั้งไว้ทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัย ภายในโครงการก่อสร้างและสำนักงานต่างๆ ของบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีไฟฉุกเฉิน ป้ายทางออกฉุกเฉินและสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
  2. จัดให้มีป้ายเตือนเหตุฉุกเฉิน (Emergency Sign) ตามพื้นที่อย่างเหมาะสม เพียงพอ
  3. จัดให้สถานที่ที่ทำงาน มีทางหนีไฟที่เข้าถึงได้สะดวก เหมาะสมและไม่ถูกกีดขวาง
  4. จัดให้มีระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm System) ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ของสำนักงาน
  5. มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ระงับเหตุอย่างสม่ำเสมอ
  6. จัดให้มีหัวหน้าทีมอพยพประจำจุดต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุ
  7. จัดให้มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละฝ่าย
  8. จัดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(รปภ.) ได้รับการอบรมการใช้งานถังเพลิง และวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น
  9. จัดให้มีการซ้อมรับเหตุฉุกเฉิน การอพยพหนีไฟเป็นประจำทุกปี

บริษัทฯ ได้นำผลจากการเก็บสถิติการเกิดอุบัติเหตุในทุกๆ ปี มาเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาที่สำคัญ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน และผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ใส่ใจและให้ความสำคัญเสมอมา

ปี 2561 2562 2563 2564 2565
จำนวนพนักงานและผู้รับเหมา (เฉลี่ย/ปี) 1,393 1,131 1,562 1,058 876
จำนวนอุบัติเหตุที่พบ (เหตุการณ์) 25 17 40 20 28
จำนวนคนที่ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานมากกว่า 1 วัน (คน) 13 10 8 2 3
จำนวนวันทำงานที่สูญเสีย (วัน) 23 18 14 3 15
จำนวนผู้เสียชีวิต (คน) 0 0 0 0 0

เพื่อเป็นการลดอัตราการการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน บริษัทฯ จึงรวบรวมสถิติการทำงานของโครงการก่อสร้างทุกโครงการ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนให้ผู้รับเหมาทุกรายของบริษัทฯทราบ โดยมีการร่วมกันหาสาเหตุของอุบัติเหตุและจัดทำมาตรการป้องกันร่วมกัน โดยบันทึกสถิติได้ ดังนี้

ปี 2561 2562 2563 2564 2565

เป้าหมาย LTIFR.

<3.5 <3 <2.5 <2 <2

LTIFR. : อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน
(เหตุการณ์ / 1ล้านชั่วโมงการทำงาน)

2.88 2.83 2.05 0.62 0.91

เป้าหมาย I.F.R

<4 <4 <3 <2 <2

I.F.R : อัตราความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ (คน / 1ล้านชั่วโมงการทำงาน)

3.74 3.54 2.05 1.24 1.37

เป้าหมาย I.S.R

<10 <10 <10 <10 <10

I.S.R : อัตราความรุนแรงของอุบัติเหตุ
(วัน / 1ล้านชั่วโมงการทำงาน)    

6.62 6.38 3.59 1.85 6.86